ใกล้เดือนเมษาเข้ามาแล้ว ทุกปีจะต้องมีนางสงกรานต์ออกมาให้เห็นกันบนสื่อโซเชียลต่าง ๆ แต่มีคนส่วนน้อยจะรู้ถึงที่มาที่ไปของนางสงกรานต์กัน บทความนี้จะมาเจาะประวัติของนางสงกรานต์ทั้ง 7 กัน ตามมาดูกันเลย
วันสงกรานต์เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตำนานของวันสงกรานต์ได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อนานมาแล้ว ย้อนกลับไปในต้นภัทรกัลป์ บนชั้นที่ 3 ในพรหมโลกได้มีท้าวกบิลพรหมคอยสอดส่องดูแลสรรพสัตว์ และ ในขณะนั้นเองได้มีธรรมบาลกุมาร เป็นบุตรชายของเศรษฐี โดยธรรมบาลกุมารบุตรชายของเศรษฐีผู้นี้ได้มาจากการบรวงสรวงองค์อินทราเทพอีกด้วย อยู่มาวันหนึ่งท้าวกบิลพรหมได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร ด้วยคำถามที่ว่า เวลาเช้าศรีอยู่ที่ใด เวลาเที่ยงศรีอยู่ที่ใด เวลาเย็นย่ำค่ำศรีอยู่ที่ใด เมื่อธรรมบาลกุมารได้ฟังก็ครุ่นคิดหนัก ท้าวกบิลพรหมยังตรัสอีกว่า หากธรรมบาลกุมารตอบไม่ได้จะตัดหัวของธรรมบาลกุมารทิ้ง แต่หากธรรมบาลกุมารตอบได้ท่านจะตัดเศียรของท่านเสียเองเพื่อถวายให้ธรรมบาลกุมาร
ต้นเหตุของวันสงกรานต์จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา เมื่อท้าวกบิลพรหมต้องทำตามสัจจะวาจาที่ลั่นไว้จึงได้เรียกธิดาทั้ง 7 อันเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์มาแล้วจึงกล่าวกับพวกนางว่า หากตั้งเศียรของท้าวกบิลพรหมไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้ไปทั่วสามโลกธาตุ หากนำพระเศียรโยนขึ้นไปในอากาศจะทำให้ฝนแล้ง ให้ธิดาทั้ง 7 นำพานมารองรับเศียรพระบิดามาไว้เถิด จากนั้นท้าวกบิลพรหมจึงได้ตัดพระเศียรตนเอง
ด้วยเหตุนี้เองในทุกปีเมื่อครบกำหนด 365 วัน นางสงกรานต์จะเปลี่ยนเวียนกันมาเชิญเศียรของท้าวกบิลพรหมเวียนรอบเขาพะสุเมรุ จึงก่อกำเนิดวันสงกรานต์ขึ้นมา
นางสงกรานต์ ปี 2567
ในปี 2567 นางสงกรานต์นี้มีชื่อว่า มโหธรเทวี ประดับอาภรณ์ด้วยแก้วนิลรัตน์ ทัดดอกสามหาว หรือ ผักตบชวา มีเนื้อทรายเป็นภักษาหาร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล ส่วนพระหัตถ์ขวาทรงจักร เสด็จไสยาสน์ลืมพระเนตรเหนือหลังมยุราปักษา
อิริยาบถนางสงกรานต์บอกอะไร
ตามหลักโหราศาสตร์ไทยให้ยกเอาเวลาที่ดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษในปีนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ ด้วยเหตุนี้เองจึงจะสามารถกำหนดได้ดังต่อไปนี้
- หากนางสงกรานต์เสด็จมาในอริยาบถยืนบนพาหนะ จะเป็นกำหนดเวลาช่วงรุ่งสางถึงเที่ยง
- หากนางสงกรานต์เสด็จประทับในอิริยาบถนั่งบนพาหนะ จะเป็นกำหนดเวลาช่วงตั้งแต่เที่ยงถึงพลบค่ำ
- หากนางสงกรานต์เสด็จมาในอริยาบถนอนลืมเนตรบนพาหนะ จะเป็นกำหนดเวลาช่วงตั้งแต่พลบค่ำถึงเที่ยงคืน
- หากนางสงกรานต์เสด็จมาในอิริยาบถนอนหลับเนตรบนพาหนะ จะเป็นกำหนดเวลาในช่วงตั้งแต่เที่ยงคืนจวบจนถึงรุ่งเช้า
ทำความรู้จักนางสงกรานต์ทั้ง 7
1. นางสงกรานต์ทุงษะเทวี
นางทุงษะเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ มีแก้วทับทิม หรือ ปัทมราคเป็นเครื่องประดับ ทัดด้วยดอกทับทิม มีภักษาหารเป็นอุทุมพร หรือมะเดื่อ พระหัตถ์ของนางสงกรานต์ทุงษะเทวีทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์พญาครุฑ
2. นางสงกรานต์โคราคะเทวี
นางโคราคะเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ มีไข่มุก หรือ มุกดาหารเป็นเครื่องประดับ ทัดด้วยดอกปีป มีภักษาหารเป็นเตละ หรือที่เรารู้จักกันว่าเป็นน้ำมัน พระหัตถ์ขวาของนางสงกรานต์โคราคะเทวีทรงพระขรรค์ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า นางสงกรานต์เสด็จประทับเหนือพยัคฆ์
3. นางสงกรานต์รากษสเทวี
นางรากษสเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร มีโมรา หรือหินเป็นเครื่องประดับ มีภักษาหารเป็นโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล หัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จประทับอยู่เหนือวราหะ หรือ หมู
4. นางสงกรานรต์มณฑาเทวี
นางมณฑาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ มีไพฑูรย์ เป็นพลอยสีเหลือมแซมเขียว เป็นเครื่องประดับ มีภักษาหารเป็นนมเนย หัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลมเป็นอาวุธ และหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ หรือลา
5. นางสงกรานค์กิริณีเทวี
นางกิริณีเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี มีมรกตเป็นเครื่องประดับ ทัดด้วยดอกมณฑา หรือ ดอกยี่หุบ มีภักษาหารเป็นถั่วและงา อาวุธประจำองค์เป็นพระขรรค์ (หัตถ์ขวา) พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จไสยาสน์เหนือคชสาร
6. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี
นางกิมิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ ทัดด้วยดอกจงกลนี มีภักษาหารเป็นกล้วยและน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จประทับในท่ายืนเหนือมหิงสา หรือ ควาย
7. นางสงกรานต์มโหทรเทวี
นางมโหทรเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ ทัดด้วยดอกสามหาว หรือผักตบชวา มีภักษาหารเป็นเนื้อทราย และมีอาวุธประจำองค์ หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา (นกยูง)
สรุป
ตำนานนางสงกรานต์เป็นคติความเชื่อของชาวบ้านที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงแต่เรื่องราวของธรรมบาลกุมารกับท้าวกบิลพรหมจะเป็นตำนานที่น่าสนใจ แต่ทว่าในความจริงแล้ว ขอพรวัด วันสงการณ์ ตำนานวันสงกรานต์ได้สอดแทรกคติธรรมเข้าไปอีกด้วย ซึ่งการที่นางสงกรานต์ลงมาทำหน้าที่ก็เปรียบเสมือนบุตรกตัญญูต่อบิดามารดานั่นเอง ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนี้เป็นหนึ่งในเครื่องหมายของคนดีอีกด้วยค่ะ