หากกล่าวถึงเทวีแห่งสายน้ำ หลายคนอาจจะนึกถึงพระแม่คงคา “แต่ทว่าน้อยคนนักที่จะรู้จักเทวประวัติของพระแม่คงคาอย่างถ่องแท้” บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จัก พระแม่คงคา พระเทวีแห่งสายน้ำ อันเป็นสายน้ำศักดิ์สิทธิ์และกลายเป็นศูนย์รวมของชาวอินเดียเหนือใต้อีกด้วยครับ
ทำความรู้จักแม่คงคา (Ganga Devi) เทพีแห่งแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์
พระเเม่คงคาเป็นเทพีผู้คุ้มครองสายน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ โดยในเมืองพาราณสีแม่น้ำคงคาเปรียบได้กับแม่น้ำสายหลักที่ชาวอินเดียเหนือใต้เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์อย่างมากนั่นเองครับ
“พระเเม่คงคาเป็นหนึ่งในชายาของพระศิวะมหาเทพผู้ทำลายล้าง ซึ่งพระเเม่คงคาเทวีมีฐานะศักดิ์เป็นพี่สาว หรือ พระภคินีของพระแม่อุมาภควตี หรือพระแม่ปราวตี อีกด้วยครับ”
ความศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่คงคาบนเกศาพระศิวะมหาเทพ
ในคัมภีร์ศิวะปุราณะได้กล่าวไว้ว่า พระแม่คงคาสถิตอยู่บนเกศาขององค์พระศิวะเจ้า โดยพระแม่คงคาสถิตอยู่ในมวยพระเกศาของมหาเทพ เหตุที่พระแม่คงคาสถิตอยู่นั้น สืบเนื่องมาจากพระเจ้าภาคีรัถถะได้ออกผนวชเป็นฤาษี พระฤาษีจึงได้บำเพ็ญตบะถึงองค์พรหมเทพครับ
แต่ทว่าความปรารถนาของพระฤาษีไม่ได้สมดั่งใจหวัง เมื่อองค์พระพรหมาได้ตรัสว่า หากพระแม่คงคาเสด็จมายังโลกมนุษย์จะทำให้มนุษย์จมน้ำตาย และโลกมนุษย์จะพังพินาศด้วยกระแสความแรงของพลังพระแม่คงคานั่นเองครับ พระพรหมเทพยังได้เปรยขึ้นมาอีกว่า หากฤษีภาคีรัถถะได้บำเพ็ญตบะบูชาขอความช่วยเหลือต่อองค์พระศิวะเพื่อให้มหาเทพพอพระทัยอีกด้วยครับ
ด้วยเหตุนี้เองฤาษีจึงได้บำเพ็ญตบะให้กับพระศิวะมหาเทพ เมื่อพระองค์ปรากฏกายขึ้น พระฤาษีจึงได้ขอให้พระศิวะมหาเทพช่วยเหลือตน “ดังนั้นพระศิวะ พระโภเลนาถจึงได้ใช้มวยเกศาของพระองค์มารับพระแม่คงคาไว้ แล้วจึงนำไปปล่อยลงโลกมนุษย์อีกด้วยครับ”
ชาวอินเดียเหนือใต้เชื่อกันว่าแม่น้ำจากพระแม่คงคา ศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก โดยเมื่อเกิดแม่น้ำคงคาสายหลักแล้วยังสามารถแยกออกได้อีกเป็น 7 สาย เรียกกันว่า สัปตสินธวะ นั่นเองครับ ซึ่งแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ยังสามารถจำแนกได้ ดังนี้
- แม่น้ำยมุนา
- แม่น้ำสรัสวดี
- แม่น้ำโกดาวารี
- แม่น้ำนาร์มาดา
- แม่น้ำสินธุ
- แม่น้ำคาเวรี
ทำไมต้องมีวันบูชาพระแม่คงคา? ความหมายและประโยชน์ทางจิตใจ
ในส่วนการบูชาพระแม่คงคา ชาวไทยเชื่อกันว่าเป็นการแสดงความขอบคุณต่อแม่น้ำที่ได้หล่อเลี้ยง และใช้ดื่ม กิน อาศัยต่อการดำรงชีวิตอีกด้วยครับ ดังนั้นจึงเกิดวันบูชาพระแม่คงคาขึ้นมานั่นเองครับ “ซึ่งในปีนี้จะปฏิบัติบูชาในช่วงปลายเดือนเมษายน หรือราว ๆ วันที่ 27 เมษายนครับ”
บทสวดพระแม่คงคาในวันคังคาปูชา
โอม อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ
ทุติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ
ตะติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ
แนะนำว่าให้สวดบูชาพระแม่เพื่อขอความเจริญรุ่งเรืองให้กับชีวิตครับ
ความเชื่อเกี่ยวกับการสรงน้ำในแม่น้ำคงคา
“ชาวฮินดูเชื่อกันว่า แม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำสายศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถชำระล้างบาปได้ ทำให้น้ำแม่น้ำคงคาถูกนำมาอาบ โดยปกติชาวฮินดูนิยมอาบน้ำ 2 ครั้งต่อวัน ในช่วงเช้า และเย็น” รวมไปถึงหากมีการเผาศพคนอินเดียจะมีการโปรยเถ้าลงในแม่น้ำคงคาอีกเช่นกันครับ ทั้งยังเชื่อกันว่าจะช่วยให้ผู้ตายได้ไปยังสัมปรายภพสรวงสรรค์อีกด้วยครับ
ดังนั้นไม่เพียงแต่พระแม่คงคาจะเป็นแม่น้ำสายศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวฮินดูนับถือต่อกันมา หากแต่แม่น้ำคงคาสายนี้ยังเป็นแหล่งศูนย์รวมแห่งความผูกพัน ไม่ว่าจะเป็นการอาบ ดื่ม กิน เผาศพ โปรยเถ้ากระดูก ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นและจบลงในแม่น้ำสายศักดิ์สิทธิ์ “ที่เชื่อกันว่าแม่น้ำคงคาสายนี้ไหลผ่านตรีโลก อันได้แก่ สวรรค์ มนุษย์ และนรกอีกด้วยครับ”