ในสมัยโบราณคนเล่นของ เล่นคุณมักจะนิยมเลี้ยงผี ซึ่งส่วนมากผีที่เลี้ยงไว้จะนิยมเลี้ยงไว้ใช้งานเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยผีที่นิยมเลี้ยงกันมา ได้แก่ ผีพราย โหงพราย โหงพยนตร์ หุ่นพยนตร์ รักยม กุมารทองเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ได้ชื่อว่าเป็นผีเลี้ยงทั้งสิ้น “แต่การเลี้ยงผีไม่ได้หมายความว่าจะเป็นบาปเสมอไป” ผีที่ให้คุณก็มี ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงผีฟ้า การเลี้ยงผีแถน รวมไปถึงการเลี้ยงผีปู่ตา ทว่ามีน้อยคนที่จะรู้จัก ผีปู่ตาได้อย่างถ่องแท้ บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักผีปู่ตา กันครับ
ความหมายของ ผีปู่ตา คืออะไร
การบูชากราบไหว้ผีเป็นหนึ่งในคติความเชื่อของชาวบ้านหลายภูมิภาคในประเทศไทย นั่นก็เพราะก่อนที่จะเกิดพระพุทธศาสนาคนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงผี บูชาผี เซ่นไหว้ผี ผีกะพระนาง รวมไปถึงการพลีกรรมต่าง ๆ ก็เกี่ยวข้องกับผีด้วยกันทั้งสิ้น โดยการเลี้ยงผีจะนิยมเลี้ยงกันมากในภาคอีสาน เช่น การเลี้ยงผีแถน การเลี้ยงผีปู่ตา หรือ ผีปู่ตาเป็นต้น
“ชาวสุรินทร์เชื่อว่าผีปู่ตาคือผีบรรพบุรุษที่เสียชีวิตจากลูกหลานไป เมื่อตายแล้วก็ไปเกิดเป็นผี” พวกเขายังเชื่อต่อกันมาว่าผีปู่ตาจะทำหน้าคุ้มครอง ปกปักรักษา ป้องภัยให้แก่ลูกหลานในวงศ์ตระกูล รวมไปถึงครอบครัวของลูกหลาน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดพิธีพลีกรรมและประเพณีการเลี้ยงผีปู่ย่าขึ้นมาอีกด้วยครับ
ความเชื่อในพิธีกรรมเลี้ยงผีปู่ตา
หลายคนเชื่อกันว่าดอนปู่ตาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก โดยในทุกหมู่บ้านจะมีดอนปู่ตาซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผีบรรพบุรุษของหมู่บ้าน ซึ่งคำว่าปู่จะหมายถึงวิญญาณทางพ่อ ส่วนตาจะหมายถึงวิญญาณทางแม่นั่นเองครับ ทั้งยังเชื่อกันว่าผู้ใดจะเข้ามารุกล้ำและตัดต้นไม้ไม่ได้ หรือจะพูดจาหยาบคาย ลบหลู่ไม่ได้เช่นกัน
“คนสุรินทร์เชื่อว่าผีปู่ตาจะช่วยให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง ผู้ที่เลี้ยงจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการทำนาได้ไม่ยาก ทำให้ได้ผลผลิตสูง ๆ ข้าวไม่ติดโรคอย่างโรคต้อข้าว ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล รวมถึงการขายข้าวสารได้ในราคาสูงอย่างมากอีกด้วยครับ”
พิธีกรรมนี้จัดขึ้นตอนไหน
พิธีกรรมการเลี้ยงผีปู่ตาจะจัดขึ้นมาในทุก ๆ เดือนพฤษภาคม ซึ่งจะมีการทำบุญเลี้ยงผีปู่ตาเป็นประจำทุกปี โดยผ่านขะจ้ำ หรือกระจ้ำ ซึ่งเฒ่าจ้ำจะเป็นผู้ติดต่อสื่อสารทางจิตกับผีปู่ตา จนทำให้เกิดการบ๋า หรือการเซ่นไหว้ผีปู่ตาอีกด้วยครับ
หลังจากที่ขะจ้ำนั้นทรงแล้ว “เมื่อขะจ้ำตัวสั่นขึ้นมานั่นจึงเป็นสัญญาณว่า ในเวลานี้ผีปู่ตาได้มาหาพวกเขาแล้ว ลูกหลานชาวสุรินทร์เชื่อกันว่า ขะจ้ำจะถูกสิงโดยผีปู่ตา หากขะจ้ำพูดออกมาว่าใครทำอะไรผิด ชาวบ้านจะนำดอกไม้ และธูปเทียน ไปบอกกล่าและขอขมาผีปู่ตา” ครับ
แซนโฎนตา ประเพณีวันสารทสุรินทร์
อีกหนึ่งประเพณีที่เกี่ยวข้องกับผีบรรพบุรุษเป็นการทำบุญงานสารท หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันว่าประเพณีงานบุญเดือนสิบ โดยจะทำบุญด้วยการอุทิศอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ แก่ผีปู่ตาผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปในบ้านแต่ละหลัง “เพราะลูกหลานเชื่อกันว่าทุกวันแรม 14 ค่ำ ในเดือน 10 ของทุกปี สำหรับวิธีเห็นผีเห็นวิญญาณบรรพบุรุษจะกลับมาเยี่ยมเยียนลูกหลาน รวมถึงญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ และสมาชิกในครอบครัวที่แยกย้ายไปอยู่ที่อื่นครับ”
เมื่อถึงเวลาทุกคนในบ้านจะเตรียมเครื่องเซ่นของไหว้ โดยการจัดใส่กันจือเบ็นไว้ พิธีแซนโฎนตาจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อผู้อาวุโสที่สุดในบ้านเรียกลูกหลาย ญาติพี่น้องมาพร้อมหน้าพร้อมตากัน จากนั้นจึงจุดธูป เทียน ยกขันห้าไหว้ และกล่าวคำเรียกบรรพบุรุษให้มารับเครื่องเซ่น ต่อจากนั้นรินน้ำให้ล้างมือ แล้วจึงรินเครื่องดื่ม อาทิ เหล้า น้ำอัดลม ทั้งยังชี้บอกให้รู้ว่ามีเครื่องเซ่นไหว้อะไรบ้างกับผีบรรพบุรุษอีกด้วยครับ
ชาวไทยเชื้อสายเขมรจะผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า และได้บอกกล่าวให้วิญญาณบรรพบุรุษไปที่วัดเพื่อฟังสวดพระจะได้เจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์จะทำพิธีมอบเครื่องเซ่นไหว้แก่ผีปู่ตาผีบรรพบุรุษ “จากนั้นลูกหลานก็จะกลับมาที่บ้าน แล้วจึงเตรียมปูที่นอนและข้างของเครื่องใช้ให้กับผีปู่ตาผีบรรพบุรุษ นั่นก็เพราะว่าผีปู่ตาจะต้องค้างคืนที่บ้านหลังนี้” แล้วรุ่งสางคนสุรินทร์จะทำเรือกาบกล้วย ด้านในใส่กระดาษ ขนม อาหารคาว ผลไม้ และเสื้อผ้าของใช้ขนาดเล็ก ๆ แล้วจึงจุดธูปเทียนนำไปลอยในแม่น้ำ บ่อน้ำเพื่อส่งบรรพบุรุษกลับไปยังยมโลกนั่นเองครับ
สรุป
แม้ว่าการเลี้ยงผีปู่ตา ผีบรรพบุรุษมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแต่ก็ยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน นั่นก็เพราะว่า “ส่วนหนึ่งประเพณีการเลี้ยงผีนี้ได้รับการปฏิบัติต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ประเพณีพิธีกรรมการเลี้ยงผีมีอยู่อย่างยาวนาน และได้ถือปฏิบัติติดต่ออย่างเคร่งครัดตลอดมา” นั่นเองครับ
นอกจากนี้ประเพณีพิธีแซนโฎนตายังเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ทำให้ลูกหลานได้มาเจอญาติกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้กับลูกหลานในบ้านได้อย่างมากเลยทีเดียวครับ