ขันธปริตรสูตร กับพระพุทธเจ้า เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โดย Admin-Dream

หากจะกล่าวถึงบทสวดในสมัยพุทธกาลที่สำคัญมีอยู่หลายบทสวดด้วยกัน ทว่าน้อยนักที่องค์สมเด็จพระบรมสัมมาสัมโพธิญาณจะทรงนำมาแสดงหรือตรัสออกมาให้กับเหล่าสาวกและพุทธบริษัทสี่ ขีณาสพ และพระอรหันต์ ได้ฟัง อันมีใจความกล่าวถึงพญานาคราชและสัตว์มีพิษทั้งสี่ตระกูล ด้วยครับ

ภาพพระพุทธเจ้านั่งสมาธิใต้ต้นโพธิ์ มีพระสงฆ์และเหล่าผู้ฟังนั่งล้อมรอบ ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงบ ด้านหลังมีภาพของพญานาคราชและสัตว์มีพิษทั้งสี่ตระกูลที่แสดงในตำราพุทธศาสนาสมัยโบราณ บรรยากาศเต็มไปด้วยแสงสีทองสะท้อนความรู้แจ้งและการหลุดพ้น

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยิน “พระปริตรสูตร’ มาไม่มากก็น้อย แต่ทว่ามีน้อยคนนักที่จะรู้จักกับพระปริตรสูตรอย่างแท้จริง” บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักพระสูตรศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ตามมาเลยครับ

ความหมายขันธปริตร

ภาพพระพุทธเจ้าทรงนั่งสมาธิใต้ต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ รายละเอียดของจีวรและสีหน้าเงียบสงบถูกแสดงอย่างสมจริง มีพระสงฆ์และผู้คนสมัยพุทธกาลนั่งฟังอยู่รอบ ๆ ท่ามกลางแสงสีทองที่ส่องลอดผ่านใบไม้ ในพื้นหลังมีพญานาคราชขดตัวอย่างสง่างาม และสัตว์มีพิษทั้งสี่ตระกูลแสดงอยู่อย่างละเอียด บรรยากาศโดยรอบเป็นภูเขาและธรรมชาติอันเงียบสงบ สื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่

‘ขันธปริตร’ หนึ่งในพระปริตรที่ชาวพุทธนิยมสวดเพื่อป้องกันอันตรายจากอสรพิษ และสัตว์เลื้อยคลาน โดยใจความเกี่ยวข้องกันกับพญานาค และสัตว์มีพิษทั้ง 4 ตระกูลนั่นเองครับและการเกิดดับความหมายของการมีชีวิต มหาสติปัฐฐาน 4 ซึ่งเชื่อกันว่า “ผู้ใดได้สวดขันธปริตรจะไม่มีงูเงี้ยวเขี้ยวขอ หรืออสรพิษ รวมไปถึงสัตว์มีพิษมาเบียนบีฑานั่นเองครับ” ทั้ง บทสวดขันธปริตรยังเป็นหนึ่งในมหาราชปริตร พระปริตรที่ทรงพลานุภาพมากที่สุด บทหนึ่งเลยทีเดียวครับ

ภาพพระสงฆ์กำลังสวดบทขันธปริตร มีออร่าของพลังปกป้องล้อมรอบ รอบตัวพระสงฆ์มีภาพของพญานาคและสัตว์เลื้อยคลานมีพิษต่าง ๆ สื่อถึงการปกป้องจากอันตรายของสัตว์มีพิษ บรรยากาศในฉากเป็นวัดโบราณหรือบริเวณป่า แสงอาทิตย์สีทองส่องลอดผ่านต้นไม้ สร้างบรรยากาศที่เงียบสงบแต่เปี่ยมด้วยพลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อโบราณ

ที่มาที่ไปของบทสวดขันธปริตร ว่ากันว่า เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่กับวัดพระเชตะวัน ในกรุงสาวัตถี ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด เหล่าพระอรหันต์พระภิกษุจึงได้กราบทูลเรื่องนี้ต่อพระบรมศาสดาว่ามีพระภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด พระพุทธองค์จึงตรัสว่าพระภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่เมตตาให้งูทั้ง 4 ตระกูล ได้แก่ ตระกูลวิรูปักษ์ ตระกูลเอราปถะ ตระกูลฉัพยาปุตตะ และตระกูลกัณหาโคตมะ จากนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนแผ่เมตตาให้แก่อสรพิษทั้งปวง

ความหมายมหาราชปริตร

ภาพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังสอนพระภิกษุที่วัดเชตวันในกรุงสาวัตถี พระภิกษุนั่งฟังอย่างตั้งใจในบรรยากาศป่าอันเงียบสงบ พระพุทธเจ้ากำลังอธิบายถึงความหมายของบทสวดขันธปริตรเพื่อแผ่เมตตาให้แก่งูทั้ง 4 ตระกูล ได้แก่ ตระกูลวิรูปักษ์ เอราปถะ ฉัพยาปุตตะ และกัณหาโคตมะ โดยมีภาพงูจากแต่ละตระกูลปรากฏอยู่ในพื้นหลัง บรรยากาศเต็มไปด้วยแสงอาทิตย์สีทองที่ส่องลอดผ่านต้นไม้ สื่อถึงธรรมะและความรู้โบราณที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน

“คำว่าปริตร หมายความถึงเครื่องต้านทาน หรือเครื่องป้องกันรักษา หรือเครื่องช่วยบรรเทา” ซึ่งพระปริตรทั้งหมดจะถูกคัดออกมาเป็นภาษาบาลี ยกตัวอย่างเช่น อหิราชสูตร เป็นต้น โดยขันธปริตรเป็นส่วนท้ายบทของอหิราชสูตร และพระสูตรอหิราชสูตรจะอยู่ในมหาราชปริตรอีกด้วย

มหาราชปริตรยังมีทั้งหมด 12 ตำนาน ดังต่อไปนี้

  1. มังคลปริตร
  2. รัตนปริตร
  3. เมตตปริตร
  4. ขันธปริตร
  5. โมรปริตร
  6. วัฏฏกปริตร
  7. ธชัคคปริตร
  8. อาฏานาฏิยปริตร
  9. อังคุลิมาลปริตร
  10. โพชฌังคปริตร
  11. อภยปริตร
  12. ชัยปริตร
  • บทสวดขันธปริตร บูชาพญานาค
ภาพพระสงฆ์กำลังสวดมนต์จากคัมภีร์ใบลานโบราณในบรรยากาศวัดที่เงียบสงบ มีแสงเทียนสีทองอ่อนส่องแสงรอบๆ บรรยากาศเต็มไปด้วยพลังศักดิ์สิทธิ์และเครื่องหมายสัญลักษณ์ของพลังปกป้องจากมหาราชปริตร มีภาพสัตว์ศักดิ์สิทธิ์อย่างงูและสัตว์อื่นๆ ที่เป็นตัวแทนของพลังปกป้องปรากฏอยู่รอบๆ สะท้อนถึงความสำคัญของบทสวดและประเพณีโบราณที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน

บทสวดขันธปริตรสำหรับบูชาพญานาคราชจะเริ่มสวดว่า “วิรูปักเขหิ เม เมตตังเมตตัง เอราปะเถหิ เม ฉัพ๎ยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม จะตุปปะเททิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโทสัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา สัพเพ ภัท๎รานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิวิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง”

บทสวดขันธปริตร 9 จบ

บทสวดขันธปริตรยังได้ชื่อว่า เป็นพระคาถากันอสรพิษ หรืองูร้าย บทสวดพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่ตกทอดมาครั้งพุทธกาล ครูบาอาจารย์ หรือพระโบราณจารย์จะนิยมสวดเมื่อออกจาริกธุดงค์ตามป่าตามเขาอีกด้วยครับ โดยบทสวดให้สวดขันธปริตรในจำนวน 9 จบ ซึ่งบทสวดขันธปริตร 9 จบจะสวดทั้งบทขัด และ บทเจริญพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ดังต่อไปนี้

บทขัด ขันธะปะริตตะคาถา

ให้สวดว่า “สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ”

บทสวด ขันธะปะริตตะคาถา

เริ่มต้นสวดต่อจากบทขัดว่า “วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก มา มัง จะตุปปะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโก สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง ฯ”

บทขันธปริตร สวดตอนไหน

ภาพพระสงฆ์กำลังสวดมนต์ถวายพญานาคราชด้วยบทสวดขันธปริตร บรรยากาศวัดเงียบสงบ พระสงฆ์นั่งอยู่หน้าหิ้งบูชาใหญ่ที่มีรูปปั้นพญานาคราช รายล้อมด้วยเทียนและของถวาย บรรยากาศเปี่ยมด้วยความสงบและศักดิ์สิทธิ์ มีสัญลักษณ์พญานาคราชปรากฏอย่างละเอียดในพื้นหลัง แสงเทียนสีทองส่องแสงเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดและความเชื่อมโยงอันลึกซึ้งกับพญานาค บรรยากาศทั้งหมดสื่อถึงการสักการะและการปกป้องทางจิตวิญญาณ

ในการสวดบทขันธปริตรสามารถสวดได้ “ทุกวันเพ็ญ 15 ค่ำ หรือจะสวดมนต์พระคาถาศักดิ์สิทธิ์นี้ในทุกคืนก่อนนอน” ก็ได้อีกเช่นเดียวกันครับ ทั้ง การเจริญพระคาถาขันธปริตรนี้จะทำให้เกิดความโชคดี โชคลาภ ความร่ำรวย และมีทรัพย์มหาศาล รวมไปถึงเมตตามหานิยม อีกด้วย

บทสวดขันธปริตร คำแปล

ภาพพระสงฆ์กำลังสวดบทสวดขันธปริตรในบรรยากาศวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ มีแสงเทียนสีทองส่องแสงอ่อน ๆ พระสงฆ์นั่งอยู่หน้าหิ้งบูชาที่อุทิศให้พญานาค โดยมีสัญลักษณ์ของพญานาคทั้งสี่ ได้แก่ วิรูปักข์ เอราปถะ ฉัพยาปุตตะ และกัณหาโคตมะ ปรากฏอย่างละเอียดในพื้นหลัง รอบตัวพระสงฆ์มีภาพของงูและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวถึงในบทสวด บรรยากาศสงบ เปี่ยมด้วยพลังปกป้องทางจิตวิญญาณ สื่อถึงพลังงานโบราณและความศักดิ์สิทธิ์ที่ลึกซึ้ง

สำหรับคำแปลบทขัดขันธปริตรคาถาได้กล่าวว่า “พระปริตรอันใด ย่อมยังพิษอันร้ายแห่งงูร้ายทั้งหลาย ให้ฉิบหายไป ดุจยาวิเศษอันประกอบด้วยมนต์ทิพย์ อนึ่งพระปริตรอันใด ย่อมห้ามกันอันตรายอันเศษของสัตว์ทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวง ในอาณาเขต ในที่ทั้งหมด ในกาลทุกเมื่อ เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันนั้นเทอญ ความ เป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย สกุลวิรูปักข์ด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย สกุลเอราบถด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย สกุลฉัพยาบุตรด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย สกุลกัณหาโคตมกะด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลายที่มี ๔ เท้าด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ที่มีเท้ามากด้วย สัตว์ ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้า อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์มากเท้าอย่าเบียดเบียนเรา ขอสรรพสัตว์มีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย จงเห็นซึ่งความเจริญทั้งหลายทั้งปวงเถิด โทษลามกไรๆ อย่าได้ มาถึงแล้วแก่สัตว์เหล่านั้น พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณไม่มีประมาณ พระธรรม ทรงพระคุณไม่มีประมาณ พระสงฆ์ ทรงพระคุณไม่มีประมาณ สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะเข็บ ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู เหล่านี้ล้วนมีประมาณ (ไม่มากเหมือนคุณพระรัตนตรัย) ความ รักษา อันเรากระทำแล้ว ความป้องกัน อันเรากระทำแล้วหมู่สัตว์ทั้งหลาย จงหลีกไปเสีย เรานั้นกระทำการนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ทำการนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗ พระองค์”

บทสรุปขันธปริตรสูตร เกี่ยวอย่างไรกับพระพุทธเจ้า และเหล่านาคราช

ภาพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังสวดบทขันธปริตรต่อหน้าพระภิกษุในบรรยากาศป่าโบราณ รอบตัวพระพุทธเจ้ามีภาพพญานาคราชทั้งสี่ตระกูล ได้แก่ วิรูปักษ์ เอราปถะ ฉัพยาปุตตะ และกัณหาโคตมะ ปรากฏอย่างละเอียด สื่อถึงพลังปกป้องจากบทสวด บรรยากาศเงียบสงบ มีแสงอาทิตย์สีทองส่องลอดผ่านต้นไม้ สร้างความรู้สึกศักดิ์สิทธิ์และเงียบสงบ พระภิกษุรับฟังพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับการแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลาย รวมถึงอสรพิษและพญานาค

ด้วยเหตุนี้เอง ขันธปริตรเป็นบทสวดเจริญพระพุทธมนต์ที่เกี่ยวข้องกับองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ตรัสขึ้นในสมัยพุทธกาล ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวข้องกับการแผ่เมตตาให้กับพญานาคราชทั้ง 4 ตระกูลและอสรพิษสัตว์ร้ายทั้งปวงนั่นเองครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า