คเณศจตุรถี กับ คเณศชยันตี แตกต่างกันอย่างไร เรามีคำตอบ

โดย Admin-Pawimon

อัพเดทล่าสุด:

เมื่อกล่าวถึงพระพิฆเนศ หลายคนอาจจะนึกถึงรูปปั้นเศียรช้าง มีท่อนล่างลักษณะเป็นมนุษย์ ลักษณะอ้วนท้วนสมบูรณ์ สวมเครื่องประดับ และถืออาวุธครบมือซ้ายขวาที่เรามักเห็นจนชินตา เชื่อว่าสายมูส่วนใหญ่ที่บูชาพระคเณศจะต้องรู้จักกับเทศกาลคเณศจตุรถีเป็นอย่างแน่นอน ทว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้จักคเณศชยันตีมากนัก บทความนี้จะพาทุกคนมาดูข้อแตกต่างระหว่างเทศกาลคเณศจตุรถี และคเณศชยันตีกันค่ะ ตามมาดูกันเลย

ภาพวาดเทศกาลคเณศจตุรถีและคเณศชยันตี แสดงให้เห็นการบูชาและเฉลิมฉลองพระพิฆเนศ มีผู้คนมากมายร่วมพิธี

เทศกาลคเณศจตุรถี คืออะไร

ภาพวาดการเฉลิมฉลองเทศกาลคเณศจตุรถีในยามค่ำคืน มีผู้คนมากมายร่วมกันแห่องค์พระพิฆเนศ ประดับไฟและดอกไม้สวยงาม

เทศกาลคเณศจตุรถีเป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองให้กับพระศรีคเณศ หรือพระพิฆเนศ ซึ่งเป็นโอรสองค์ที่สองของพระแม่ปราวตี และ พระศิวะมหาเทพ สองมหาเทพผู้ซึ่งได้รับการบูชามากที่สุดในศาสนาฮินดูและหนูมุสิกะตามปกติเทศกาลคเณศจตุรถีจะมีการแห่องค์พระพิฆเนศและมีการเฉลิมฉลองมากถึง 10 วันเลยทีเดียว

วันคเณศชยันตี คืออะไร

ภาพวาดการเฉลิมฉลองเทศกาลคเณศจตุรถีในเมือง มีผู้คนมากมายร่วมกันแห่องค์พระพิฆเนศ ประดับไฟและดอกไม้สวยงาม

สำหรับ ‘คเณศชยันตี’ เป็นวันคล้ายประสูติของพระพิฆเนศ จะเป็นวันขึ้น 4 ค่ำ ประมาณกลางเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยในทุกปีเมื่อใกล้ถึงวันคเณศชยันตีจะมีการนำดินเหนียวมาปั้นเป็นองค์พระพิฆเนศ และเมื่อถึงวันคเณศชยันตีจะมีการนำขนมลาดู มะขวิด (เป็นผลไม้ทรงโปรด) ดอกชบาสีแดง หญ้าแพรก มาแสดงความเคารพองค์พระพิฆเนศ

คเณศชยันตี วันประสูติพระคเณศ เทพแห่งความสำเร็จ

ในวันคเณศชยันตีเป็นวันที่พระแม่ปราวตรีได้สร้างพระพิฆเนศจากขมิ้นที่ทาพระวรกายของตนเองให้กลายเป็นกุมารพระโอรสที่มีรูปงาม และพระโอรสจะมีหน้าที่เฝ้าห้องสรง ทว่าวันหนึ่งพระศิวะจะเสด็จเข้าห้องสรง ทำให้พระพิฆเนศที่ได้กล่าวรับคำของพระแม่ปราวตรีเอาไว้เข้ามาขัดขวางเอาไว้จนทำให้เกิดการต่อสู้กันของพระอิศวรและพระพิฆเนศ แม้ว่าจะต่อสู้กันเท่าไหร่ก็ไม่สามารถสู้พระคเณศได้ จนต้องไปตามทวยเทพมาช่วย ต่อมาพระพิฆเนศถูกตัดพระเศียรขาดโดยจักรของพระนารายณ์

ภาพวาดเทศกาลคเณศจตุรถีในหมู่บ้าน มีเด็กๆ และผู้ใหญ่ร่วมกันบูชาและเฉลิมฉลองพระพิฆเนศ มีช้างและกิจกรรมสนุกสนาน

เมื่อความทราบถึงพระแม่ปราวตรี พระนางทรงพิโรธหนักมากจนพระศิวะต้องเรียกชุมนุมเหล่าเทพอีกครั้งเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ จากนั้นพระศิวะได้ให้เหล่าเทพทั้งหลายไปค้นหามนุษย์ หรือ สัตว์ที่มีลักษณะนอนหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก เพื่อตัดศีรษะมาต่อให้พระโอรสเสีย ในที่สุดก็ได้ศีรษะช้างเผือกเชือกหนึ่งมาต่อได้สำเร็จ พร้อมกันนี้พระศิวะจึงแต่งตั้งให้พระคเณศได้เป็นใหญ่ในเหล่าเทพรับใช้ของพระศิวะ ทั้งพระองค์ยังได้กลายเป็นเทพแห่งสติปัญญา และผู้ขจัดอุปสรรคทั้งปวง ด้วยเหตุนี้วันนี้จึงถือเป็นคเณศชยันตี ซึ่งคำว่าชยันตี ยังแปลความหมายได้ว่า การเฉลิมฉลอง จึงหมายถึงการฉลองวันเกิดให้พระคเณศอีกด้วย

คเณศจตุรถี วันสักการะพระพิฆเนศ เทพแห่งความสำเร็จ

ภาพวาดการเฉลิมฉลองเทศกาลคเณศจตุรถี มีเด็กๆ และผู้ใหญ่ร่วมกันบูชาและเฉลิมฉลองพระพิฆเนศ มีเครื่องบูชาและขนมลาดู

วันคเณศจตุรถีเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ของพระพิฆเนศที่จัดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน 10 วัน เลยทีเดียว โดยมีความเชื่อว่าในวันทั้ง 10 วันนี้ พระพิฆเนศจะเสด็จลงมาที่โลกมนุษย์ เพื่อประทานพรแก่เหล่าสาวกของพระเป็นเจ้าทุกคนอีกด้วย โดยเทศกาลคเณศจตุรถีเริ่มต้นที่ประเทศอินเดีย ก่อนจะเริ่มเผยแพร่ออกไปทั่วประเทศ

เริ่มต้นครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย แล้วจึงได้ขยายออกไปทั่วประเทศ ซึ่งงานี่จัดจะมีทั้งหมดด้วยกัน 10 วัน แต่ละวันมีพิธีกรรมที่แตกต่างออกไป และเทศกาลคเณศจตุรถียังมีหัวใจสำคัญคือห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลยทีเดียว

คเณศจตุรถี กับ คเณศชยันตี แตกต่างกันอย่างไร

ภาพวาดเปรียบเทียบเทศกาลคเณศจตุรถีและคเณศชยันตี ด้านซ้ายเป็นเทศกาลคเณศจตุรถีที่มีการตกแต่งสีสันสดใสและผู้คนมากมาย ด้านขวาเป็นวันคเณศชยันตีที่มีบรรยากาศเงียบสงบและศักดิ์สิทธิ์

บทสรุปความแตกต่างของคเณศจตุรถี และคเณศชยันตีนั้นจะสามารถแยกออกมาได้ว่าคเณศชยันตี เป็นวันเกิดของพระพิฆเนศ ส่วนคเณศจตุรถีเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองให้กับพระพิฆเนศมียาวนานตลอด 10 วัน หัวใจสำคัญของวันคเณศจตุรถีคือห้ามฆ่าสัตว์ตลอดทั้ง 10 วัน เมื่อจบพิธีจะต้องนำพระพิฆเนศไปละลายน้ำเพื่อเป็นการส่งพระองค์กลับสู่ไกรลาสเป็นอันเสร็จพิธีในคเณศจตรุถี ส่วนเคล็ดลับในวันคเณศชยันตีจะนิยมขอพรพระองค์ท่าน โดยผู้ศรัทธาจะนิยมขอพรในเวลาอาบน้ำโดยให้สวดมันตรา 108 จบ เพื่อถวายให้กับพระองค์ แล้วเราจึงสามารถขอพรให้กับตนเองได้อีกด้วย สามารถดูขอมูลเพิ่มเติมได้ที่ สิ่งมงคลควรมีติดรถ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อแตกต่างของวันคเณศชยันตี และเทศกาลวันคเณศจตุรถีนี้ แตกต่างกันอย่างมากเลยทีเดียวใช่ไหมล่ะคะ เพียงเท่านี้เหล่าผู้ศรัทธาพระองค์ท่านก็สามารถแยกความแตกต่างและปฏิบัติตัวได้อย่างชัดเจนในวันคเณศ ชยันตี และในเทศกาลวันคเณศจตุรถีได้แล้วล่ะค่ะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า