พระพุทธรูปสมัยโบราณของไทย ในแต่ละยุคสมัย!!

โดย Admin-Dream

ทุกวันนี้เรามักจะเห็นพระพุทธรูปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปางนั่งสมาธิ ปางไสยาสน์ ปางยืน ปางอุ้มบาตร “แต่ทว่ามีน้อยคนนักที่จะจำแนกได้ว่าพระพุทธรูปที่ตนมีไว้บูชาในสมัยใด”  บทความนี้มีเรื่องราวของพระพุทธรูป พุทธศิลป์ไทยแต่ละสมัยมาฝากกันครับ

พระพุทธรูป แบ่งออกเป็นกี่ปาง

สำหรับพระพุทธรูปสามารถจำแนกออกได้หลากหลายปาง แต่บทความนี้ได้ยกมาจำนวน 7 ปางด้วยกันครับ ตามมาดูกันเลย

1.     พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต

มาเริ่มต้นกันที่พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิตกันครับ โดยปางนี้จะมีลักษณะนั่งขัดสมาธิ โดยพระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลาหรือตัก ส่วนพระหัตถ์ขวายกขึ้น และตั้งฝ่าพระหัตถ์เสมออุระ ก่อนจะปรินิพพาน องค์พระศาสดาตรัสประโยคอะไรทั้งยังเบนฝ่าพระหัตถ์ไปด้านซ้ายอีกด้วยครับ “เชื่อกันว่าปางนี้เป็นปางที่เจ้าชายสิทธัตถะเริ่มต้นตั้งพระทัยว่าจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระองค์จะเสด็จกลับมาโปรดพระประยูรญาติ”

2.     พระพุทธรูปปางรับมธุปายาส

“ต่อมาเป็นพระพุทธรูปปางรับมธุปายาส ซึ่งปางนี้จะอยู่ในท่านั่งขัดสมาธิ แบหัตถ์ทั้งสองยื่นออกไปรับทางด้านหน้า ซึ่งเป็นกิริยารับถาดข้าวมธุปายาสมาจากนางสุชาดา” แต่ปางนี้จะนั่งห้อยพระบาทแทนครับ

3.     พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา

ถัดไปเป็นปางที่พบเห็นไม่บ่อยนักกับปางรับหญ้าคา “จะอยู่ในพระอิริยาบถยืน โดยมีพระหัตถ์ซ้ายปล่อยห้อยลงข้างวรกาย พระหัตถ์ขวายื่นออกมาด้านหน้า” ซึ่งปางพระพุทธรูปรับหญ้าคานี้เปรียบเสมือนกันกับทรงกำลังรับหญ้าคาจากพราหมณ์โสตถิยะนั่นเองครับ

4.     พระพุทธรูปปางมารวิชัย

“ปางที่สี่เป็นพระพุทธรูปที่ค่อนข้างนิยมนั้นคือปางมารวิชัย” ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้จะประทับในอิริยาบถนั่ง หัตถ์ซ้ายวางหงายทับพระเพลา ส่วนหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ นิ้วจะชี้ลงพื้นธรณี พระพุทธรูปปางนี้ส่วนใหญ่จะนิยมสร้างเป็นพระประธานองค์ใหญ่ประดิษฐานในพระอุโบสถครับ

5.     พระพุทธรูปปางสมาธิหรือปางตรัสรู้

ปางถัดมาเป็นปางที่เห็นกันบ่อยมาก และสำคัญมาก ๆ นั้นเป็นปางสมาธิ ซึ่งเปรียบเสมือนกันกับพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เข้าถึงอริยสัจทั้งสี่ประการ อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธและมรรคครับ “ซึ่งพระพุทธรูปปางนี้เป็นปางที่ช่วยเสริมสิริมงคลแก่ผู้บูชาได้อย่างมากเลยทีเดียวครับ” โดยลักษณะของปางสมาธินั้นจะมีหัตถ์ซ้ายวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา หรือตัก ส่วนพระหัตถ์ขวาทับกับหัตถ์ซ้าย และพระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้ายนั่นเองครับ

6.     พระพุทธรูปปางถวายเนตร

ปางที่หกเป็นพระพุทธรูปปางถวายเนตร จะมีลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืน หรือในท่ายืน ซึ่งจะลืมพระเนตรทั้งสองข้างมองเพ่งไปยังด้านหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ด้านหน้าระหว่างพระเพลา หรือตัก ส่วนพระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย “พระพุทธรูปเป็นปางที่เมื่อครั้นพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์จะเสด็จไปทรงยืนที่กลางแจ้ง และทรงยืนทอดเนตรมองตาไม่กะพริบพระเนตรเลยแม้สักวินาทีเดียว เพื่อเป็นการบูชารต้นไม่ประจำพุทธองค์อย่างต้นพระศรีมหาโพธิ์”

7.     พระพุทธรูปปางเรือนแก้ว

ปิดท้ายด้วยพระพุทธรูปปางเรือนแก้วกันบ้าง โดยพระพุทธรูปปางเรือนแก้วจะประทับในอิริยาบถนั่งแบบขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายจะวางหงายบนพระเพลาหรือบนตัด และมีพระหัตถ์ขวาวางคว่ำไว้ที่พระชานุ บางแบบอาจจะเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในเรือนแก้วก็ได้อีกเช่นเดียวกันครับ

พระพุทธรูปของไทย แต่ละยุคสมัยมีอะไรบ้าง

พระพุทธรูปจัดเป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนขององค์พระบรมศาสดาอย่างพระพุทธเจ้า ซึ่งในการสร้างพระพุทธรูป แต่เดิมจะใช้พระพุทธรูปปางแก่นจันทร์ “อีกทั้งในการสร้างพระพุทธรูปนั้นจะต้องให้มีลักษณะของมหาบุรุษทั้ง 32 ประการ และอนุพยัญชนะ 80 ประการ” ยกตัวอย่างเช่น มีนิ้วพระหัตถ์เหลืองงาม นิ้วพระบาทเหลืองงาม พระนขางาม ดวงพระพักตรต้องได้สัณฐานยาวและสวยอีกด้วย

สำหรับการสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทยจะสามารถแบ่งตามยุคสมัยได้ ดังนี้

  • ยุคทวารวดีจะนิยมสร้างพระพุทธอาสน์ ไม่ใช่พระพุทธรูป แต่หลังได้รับคติความเชื่อมาจากทางอินเดีย ในสมัยนี้จะนิยมสร้างพระประธานด้วยศิลา ปูนปั้น หิน โดยนิยมสร้างมากที่สุดคือปางประทานปฐมเทศนานั่งห้อยพระบาทนั่นเองครับ
  • ยุคศรีวิชัย จะนิยมสร้างพระพิมพ์ออกมาเสียเป็นส่วนมาก และที่นิยมอย่างมากนั้นจะเป็นรูปพระโพธิสัตว์ให้ใหญ่มากกว่าจะสร้างพระพุทธรูปครับ
  • ยุคลพบุรี จะนิยมสร้างพระจากศิลา พระหล่อ และพระพิมพ์ โดยในช่วงนี้จะเป็นอิทธิพลจากทางขอมแผ่เข้ามาจึงเป็นศิลปะแบบมหายานผสมผสานกับทางฮินดู ปางที่นิยมสร้างจะเป็นปางนาคปรก ปางมารวิชัยครับ
  • ยุคสมัยเชียงแสน ยุคนี้ได้รับคติค่านิยมความเชื่อจากอินเดีย โดยจะสร้างพระพุทธรูปแบบขัดสมาธิ และสร้างดอกบัวเป็นฐานรองพระพุทธรูป ซึ่งพระพุทธรูปนิยมทำจากโลหะครับ
  • ยุคสมัยสุโขทัย จะนิยมสร้างพระพุทธรูปแบบลังกา ซึ่งจะมีดวงพักตร์กลมเหมือนผลมะตูม และเป็นยุคที่พระพุทธศาสนานั้นเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก โดยเฉพาะพระพุมทธชินราช และพระพุทธชินสีห์
  • ยุคสมัยอยุธยา จะนิยมสร้างพระพุทธรูปตามแบบขอมในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง แต่ในรัชสมัยขอวสมเด็จตพระบรมไตรโลกนาถจะสร้างตามแบบสุโขทัย แต่หลังจากพระเจ้าปราสาททองก็กลับมาสร้างแบบขอมผสมกับไทย และหลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงนิยมสร้างแบบไทยแท้โบราณครับ
  • ยุครัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ได้สร้างพระพุทธรูปมากถึง 40 ปาง ได้แก่ ปางทุกรกิริยา ปางมารวิชัย ปางห้ามแก่นจันทร์ ปางลอยถาด และปางจงกรมแก้วอีกด้วยครับ แต่ในยุครัตนโกสินทร์จะไม่ได้แค่สร้างพระอย่างเดียว หากจะมีการบูรณะวัดให้ใหม่อยู่เสมอเพราะเชื่อว่าวัดเป็นศูนย์รวมใจประชาราษฎร์นั่นเองครับ

บทสรุป

แม้ว่าการสร้างพระพุทธรูปจะมีมากมายหลากหลายปาง แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้พุทธศิลป์อยู่อย่างยั่งยืนยาวนานนั้นคือการที่ชาวพุทธทุกคนร่วมใจกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา “แต่ทว่าแก่นของการทำบุญไม่ใช่การทำทานมากแล้วจะได้ทรัพย์มาก หากเป็นการทำทานเท่าที่พอดี บุญกุศลถึงจะส่งผลให้เจริญสุขได้ตามสมควรครับ”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า