ดังจะเห็นได้จากซีรีส์ฟอร์มยักษ์ที่เพิ่งจบไป ‘เรื่อง แม่หยัว’ ที่กล่าวถึงตัวละครพราหมณ์ในหนังชวนให้ผู้เขียนสงสัยไม่น้อยครับว่า “เหตุใดพราหมณ์ที่ประกอบพิธีกรรมให้แก่กษัตริย์ รวมไปถึงพราหมณ์ทั่วไปจึงมีเพศสภาพเป็นบุรุษ” บทความนี้ผู้เขียนอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จัก คติความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดูกันครับ มาดูกันเลย
ที่มาของ “พราหมณ์” และบทบาทในศาสนาฮินดู
คำว่า พราหมณ์ หมายความถึง กลุ่มคนที่อยู่ในวรรณะพราหมณ์ “ตามคติศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เชื่อกันว่า พราหมณ์เกิดมาจากปากของพรหมเทพ หรือพระพรหม มหาเทพเจ้าผู้สร้างอีกด้วยครับ” โดยพราหมณ์เหล่านี้จะมีหน้าที่สาธยายมนต์อันมาจากคัมภีร์พระเวท รวมไปถึงการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์อีกด้วยครับ
ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพของศาสนาฮินดู
ระบบวรรณะและบทบาทในสังคมอินเดียโบราณ
สังคมอินเดียถูกกำหนดแบ่งชนชาติออกเป็น 4 วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทรจัดเป็นวรรณะสุดท้าย โดยแต่ละวรรณะจะมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย ซึ่ง วรรณะพราหมณ์ เปรียบเสมือนนักปราชญ์ อันเป็นที่มาของบ่อเกิดแห่งความคิดและสติปัญญานั่นเองครับ
“ด้วยเหตุนี้วรรณะพราหมณ์จึงเป็นชนชั้นสูงสุดที่สุดในสังคมอินเดียโบราณ เพราะเชื่อกันว่าพราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหม ทำให้พราหมณ์มีหน้าที่เป็นปุโรหิตให้แก่กษัตริย์ในอินเดียสมัยโบราณครับ” และส่วนใหญ่เป็นเพศชายเพราะแสดงถึงความแข็งแกร่ง แต่ก็มีสตรีบางคนเกิดในวรรณะพราหมณ์ได้เช่นกันครับ
ข้อจำกัดทางเพศของผู้หญิงในอดีตกาล
“ส่วนบางคัมภีร์โบราณอย่างครุฑปุราณะได้กล่าวไว้ว่า การประกอบพิธีกรรมศพจะสามารถประกอบพิธีได้ โดยต้องเป็นบุตรชายคนโตเท่านั้น” ซึ่งในคัมภีร์โบราณนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า พราหมณ์เพศชายเท่านั้นที่จะประกอบพิธีกรรมศพ หรือพิธีการเผาศพได้เท่านั้นครับ
เป็นที่น่าเศร้าว่า ความเชื่อเรื่องเพศเป็นเครื่องคอยกีดกั้น ระหว่างบุรุษ และสตรีในหลากหลายอาชีพ ทำให้สังคมอินเดียโบราณจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันยังคงเชื่อว่าพราหมณ์เพศชายเท่านั้นที่จะสามารถประกอบพิธีกรรมการเผาศพหลงเหลืออยู่ แม้ว่าจะมีสตรีเพศบางรคนทำได้ แต่ก็ตามมาด้วยเสียงวิพากษ์และวิจารณ์ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ