บ่อยครั้งที่ในปฏิทินของเรามักจะมองเห็นว่าวันฉัตรมงคลเป็นวันหยุดประจำชาติของไทย แต่ทว่าน้อยคนที่จะรู้จักที่มาทีไปของวันฉัตรมงคล บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักวันฉัตรมงคลกัน รวมถึงสิ่งที่ต้องรู้ในวันฉัตรมงคลมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
วันฉัตรมงคล คือวันอะไร
ตามพจนานุกรมได้ระบุว่า วันฉัตรมงคล เป็นวันเฉลิมฉลองพระเศวตฉัตร โดยในวันฉัตรมงคลนี้จะเป็นวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งวันฉัตรมงคลนี้ถูกกำหนดให้เป็นวันที่ 5 พฤษภาคม นั่นก็เพราะว่าในรัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีฉัตรมงคลทุกปีนั่นเองค่ะ ด้วยเหตุนี้เองพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงได้ประกาศให้มีพระราชพิธีฉัตรมงคลเกิดขึ้นภายในวันที่ 4 – 6 พฤษภาคม ปีพ.ศ. 2562 อีกด้วย
มีความสำคัญอย่างไร กับบ้านเมือง
พิธีบรมราชาภิเษกเป็นหนึ่งในพระราชพิธีสำคัญที่ รัชกาลที่ 9 อย่างพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เถลิงถวัลย์เสวยราชสมบัติ หรือเรียกกันว่าทรงได้ครองราชย์สมบัติต่อจากรัชกาลพระองค์ก่อนนั่นเองค่ะ ทางราชการจึงถือว่าวันฉัตรมงคลนี้เป็นวันหยุดตามประเพณีไทยอีกด้วย
เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่หรือไม่ อย่างไร
ตามหลักศิลาจารึกในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ปรากฏพิธีบรมราชาภิเษกขึ้น เมื่อครั้นตอนที่พ่อขุนผาเมืองอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวให้กลายเป็นผู้ปกครองกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอโยธยาได้ปรากฎหลักฐานพระราชพงศาวดารว่า เมื่อครั้นใดก็ตามที่ได้มีการเปลี่ยนองค์พระมหากษัตริย์ ทั้งพระนครจะจัดให้พิธีเฉลิมฉลองอย่างใหญ่โต ซึ่งได้จัดสืบทอดต่อกันมาจวบจนถึงปัจจุบันและตำนานพระโคแรกนาขวัญก็จะเป็นพิธีกรรมในพระราชวังหลวงคล้ายๆ กันค่ะ
สิ่งที่ต้องรู้ในพิธีกรรม วันฉัตรมงคล
ในพระราชพิธีฉัตรมงคลจะต้องมีเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งหากมีพระราชพิธีฉัตรมงคลเกิดขึ้นเมื่อใด จะต้องมีเจ้าพนักงานอัญเชิญ ‘เครื่องสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์’ มาในพิธีบรมราชาภิเษกทุกครั้งด้วย โดยเครื่องราชเบญจราชกกุธภัณฑ์มีดังต่อไปนี้
- พระมหาพิชัยมงกุฎ เปรียบเสมือนสัญญะแห่งชัยชนะในการปราบดาภิเษกพระมหากษัตริย์
- พระแสงขรรค์ชัยศรี เปรียบเสมือนสัญญะอาญาสิทธิ์ในการปกครองแผ่นดิน และเป็นตัวแทนแห่งปัญญาที่แหลมคมอีกด้วย
- ธารพระกรที่ทำจากไม้มงคลอย่างชัยพฤกษ์ เปรียบเสมือนชัยชนะ
- วาลวิชนี หนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามคติของอินเดีย มีลักษณะเป็นพัดใบตาลปิดทองและแส้ขนของจามรี
- ฉลองพระบาทเชิงงอน เปรียบเสมือนพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ โดยเป็นรองพระบาทที่พระมหาราชครูพราหมณ์จะสวมถวายทีละข้างอีกด้วย
พิธีกรรมที่สำคัญ
1. การเตรียมงานพระราชพิธีฉัตรมงคล
ในการตระเตรียมงานพระราชพิธีฉัตรมงคลนั้น จะเริ่มจากการเตรียมน้ำที่ใช้สำหรับถวายอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยใช้น้ำจากแม่น้ำทั้ง 18 แห่งของไทยเลยทีเดียว แต่ตามโบราณราชประเพณีดั้งเดิมได้กำหนดให้ใช้น้ำปัญจมหานทีจากแม่น้ำ 5 สาย อาทิ ยมนา อิรวดี มหิ สรภู และคงคาอีกด้วย
2. พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
ขั้นตอนแรกจะเริ่มจากการถวายคำพระพรชัยมงคลให้กับพระมหากษัตริย์ที่ประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ จากนั้นพระมหากษัตริย์จะรับน้ำอภิเษกขึ้นพระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ และจึงเริ่มพิธีพราหมณ์ในการร่ายเวทย์ หลังจากนั้นจึงเริ่มลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องเงบญจสิริราชกกุธภัณฑ์นั่นเองค่ะ
บทสรุป
เรียกได้ว่าวันฉัตรมงคลมีความสลักสำคัญอย่างมากเลยทีเดียวกับบ้านเมืองในไทยของเรา เพราะเปรียบประดุจวันคล้ายวันพิธีบรมราชาภิเษกที่พระมหากษัตริย์ได้รับการราชาภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติ ซึ่งการถวายเครื่องเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์เปรียบเสมือน เครื่องหมายอันแสดงสัญญะความเป็นพระมหากษัตริย์อีกด้วยค่ะ