บ่อยครั้งที่เรามักเห็น ‘ถาดอารตี’ ในซีรีส์อินเดียหรือภาพยนตร์ภารตะในหลาย ๆ เรื่อง ทว่ามีไม่กี่คนที่จะรู้จักพิธีการอารตีไฟเช่นนี้ บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักการอารตีไฟกันอย่างเจาะลึก ตามมาดูกันเลย
การบูชา อารตรีไฟ คืออะไร
หนึ่งในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นั้นเห็นจะหนีไม่พ้นอาระติกยัม หรือแปลความหมายมาว่า การเวียนประทีปจุดกํายานซึ่งจะพบในศาสนาฮินดู ทั้งยังเป็นขั้นตอนอันสำคัญในการบูชาทวยเทพฮินดูแต่ละองค์อีกด้วย และนับเป็นการเคารพเทพฮินดูองค์นั้น ๆ อย่างสูงสุดเลยทีเดียวค่ะ และสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับศาสตร์มันตราคืออะไรการสวดมันตรา เป็นแบบไหน
ทำความรู้จักการอารติ ความเชื่อของศาสนาฮินดู
ไม่เพียงแต่ นีราชะนัม หรือ พิธีการเวียนประทีปนั้นจะต้องบูชาไฟเท่านั้น หากพิธีการอารตีนี้ผู้บูชายังต้องขับขานเสียงเพลงบทสวดมันตราเพื่อร้องถวายแด่องค์เทพอีกด้วย ซึ่งโดยหลักแล้วการอารตีไฟยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
- สันธยารตี ในเวลาเช้า และ เวลาค่ำ ๆ แนะนำว่าสาวกผู้บูชาจะต้องทำการสันธยารตีทุกวัน ห้ามขาด แม้เพียงวันเดียว
- การอารตีหลังประกอบพิธีกรรมแด่ทวยเทพสำเร็จ ซึ่งเรามักพบเห็นกันบ่อยตามเทศกาลต่าง ๆ อาทิ เทศกาลคเณศจตุรถี เป็นต้น
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการประกอบการบูชา
ตะเกียงอารตี
ลักษณะของตะเกียงอารตีจะเป็นภาชนะที่มีด้ามมือสำหรับจับ โดยตรงกลางจะเป็นหลุมแบบวงกลมไว้สำหรับใส่สำลีชุบน้ำมันเนยลงไป หรือบางคนนิยมจุดก้อนการบูรก็ได้อีกเช่นเดียวกัน แต่ในอินเดียใต้นิยมใช้เป็นถาดหลุม หรือถาดโลหะอีกด้วยค่ะ
กระถางประทีป
กระถางประทีป จะมีลักษณะเป็นภาชนะที่ทำมาจากดินเผาไว้ใส่ขี้ผึ้ง และไส้ของประทีปที่ทำมาจากเส้นฝ้ายเข้าไปในกระถางประทีป
ดอกดาวเรือง
ดาวเรืองในพิธีการอารตีไฟนี้ เราจะต้องฉีกอำจเพาะกลีบดอกออกมา โดยในพิธีกรรมนี้เราจะใช้ดอกดาวเรืองสีเหลือง ประมาณ 2-3 ดอก
กำยาน
กำยานที่ใช้บูชาทวยเทพฮินดูเหล่านี้จะต้องเป็นกำยานมีลักษณะคล้ายกับสามเหลี่ยม สามารถใช้กำยานได้หลากหลายกลิ่น และใช้กำยานสีอะไรก็ได้ แต่เราจะจุดกำยานเพียง 1 ชิ้นเท่านั้นค่ะ
เคล็ดลับการใช้ตะเกียงอารตี
ในขั้นตอนการใช้ตะเกียงอารตีนั้นจะต้องถือตะเกียงอารตีไฟมือขวาเท่านั้น จากนั้นจึงประคองด้วยมือซ้ายเพื่อให้ตะเกียงอารตีตั้งตรง แล้วจึงขอพรแต่สิ่งที่ดี ๆ ให้บังเกิดแก่ตนเอง หรือ คนรอบข้าง
ลำดับขั้นตอนพิธีการอารตี
สำหรับขั้นตอนพิธีการบูชาไฟ หรืออารตี จะมีลำดับ ดังต่อไปนี้
- จุดไฟที่กำยานตรงส่วนแหลม
- จากนั้นจุดไฟที่กระถางประทีป บริเวณ ไส้ประทีส
- เริ่มต้นร้องเพลงอารตรีของเทพฮินดูแต่ละพระองค์ หรือจะร้องโอมทอดเสียงยาวๆ 3 ครั้ง
- ต่อจากนั้นให้เริ่มเวียนถาดอารตีตามเข็มนาฬิกา ไล่ตั้งแต่ส่วนของพระบาท แล้วหมุนบริเวณตรงส่วนนั้นให้ครบ 3 รอบ แล้วจึงไต่ไปที่พระอุระ จวบจนกระทั่งถึงข้างบนสุดคือพระเศียรของเทวรูปนั่นเองค่ะ
- เมื่อหมุนครบทั้งสามส่วนอย่างละ 3 รอบ แล้วจึงหมุนเป็นวงกว้างรอบองค์เทวรูปอีกรอบ ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา แล้วนำถาดอารตีไปวางหน้าองค์เทพค่ะ
- ถัดไปให้ใช้มือคว่ำไปอังบริเวณเปลวไฟในระยะห่าง ๆ จากไฟ แล้วนำมาแตะที่หน้าผาก ตา และใบหูเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการอารตีไฟค่ะ
ความหมายของวันคเณศจตุรถี
นอกจากนี้ชาวฮินดูยังนิยมประกอบพิธีการอารตีไฟ ในทุกค่ำคืนของเทศกาลคเณศจตุรถี ซึ่งเชื่อกันว่าองค์พระคเณศจะเสด็จลงมาประทานพรบนโลกมนุษย์ให้กับสาวกผู้บูชาของพระองค์ด้วยตนเอง ทำให้ในวันสำคัญเทศกาลพิเศษของพระคเณศนั้นจะมีการแห่องค์เทวรูปพระคเณชาอย่างใหญ่โตในเมืองมัทราส อินเดียใต้ หรือเชนไนในปัจจุบันค่ะ
บทสรุป
แม้ว่าการอารตีจะดูแล้วเป็นเพียงพิธีการเล็ก ๆ เท่านั้น หากแต่แท้จริงแล้วในการถวายอารตีไฟเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญสูงสุดของการบูชาเทพฮินดูอย่างสูงที่สุดเลยก็ว่าได้ค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม หากใครไม่มีตะเกียงอาตรี ก็สามารถใช้แป้งสาลีปั้นเป็นลักษณะถ้วยหลุมขนาดเล็ก ๆ แล้วนำสำลีชุบน้ำมันเนยใส่ลงไปก็ได้อีกเช่นเดียวกันค่ะ